อีพ็อกซี่ คืออะไร?
อีพ็อกซี่ หรือ polyepoxide เป็น thermosetting polymer เกิดจากปฏิกิริยาของเรซินกับ hardener อีพ็อกซี่มีหลากหลายคุณประโยชน์ใช้สอยในการทำงานทั่วไป
ส่วนผสมทางเคมี
อีพ็อกซี่ epoxy เป็นโคโพลิเมอร์ ที่จะเกิด จากสารเคมีที่แตกต่างกันสองสิ่ง เหล่านี้เรียกว่าเรซิน"และ hardener" เรซิน ประกอบด้วย โมโนเมอร์ หรือพอลิเมอกลุ่มพอกไซด์ ส่วนใหญ่แล้วเรซิ่นอีพ๊อกซี่ทั่ว ไปจะเกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง epichlorohydrin และ Bisphenol – A แต่หลังอาจถูกแทนที่ด้วยสารเคมีที่คล้ายhardener ประกอบด้วยโมโนเมอร์พอลิเอเช่น Triethylenetetramine (TETA) เมื่อสารเหล่านี้ผสมกัน,
กลุ่มละลายทำปฏิกิริยา กับ กลุ่ม พอกไซด์ ในรูปแบบ โควาเลนต์ แต่ละกลุ่ม NH สามารถทำ ปฏิกิริยากับกลุ่ม พอกไซด์ เพื่อให้ โพลิเมอร์ ออกผลเป็นอย่างมาก กระบวนการพอลิเมอ เรียกว่า"บ่ม"และสามารถควบคุม โดยอุณหภูมิและทางเลือกของ เรซินและสาร hardener กระบวนการอีพ็อกซสามารถใช้เวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง
ประวัติศาสตร์อีพ็อกซี่
ความพยายามเชิงพาณิชย์ครั้งแรก ในการเตรียมเรซินจาก epichlorohydrin ได้ทำในปี 1927 ในสหรัฐอเมริกา เป็นผลงานการ สังเคราะห์แรกของเรซินอีพอกซี่ Bisphenol –A–based โดย ดร. Pierre Castan ของสวิตเซอร์แลนด์และ ดร. SO Greenlee ของสหรัฐอเมริกาในปี 1936 งานของ ดร. Castan ได้รับอนุญาตจาก Ciba, Ltd. ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ซึ่ง
กลายเป็นหนึ่งในสามผู้ผลิตอีพอกซี่ทั่วโลก ธุรกิจอีพอกซี่ Ciba ถูกปั่นราคาและขายต่อไปในปลายปี 1990 และเป็น business unit of Huntsman Corporationของสหรัฐอเมริกา ดร. Greenlee ของบริษัท Devoe – Reynolds จากสหรัฐอเมริกา Devoe – Reynolds ซึ่งบริหารงานขาย อีพ็อกซี่ทั่วโลก ในปัจุบันอุตสาหกรรมเรซิ่นอีพ็อกซี่ถูกขายให้กับ Shell
เคมีคอลซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ที่สุดในโลก
GMP คืออะไร
Good Manufacturing Practice (GMP) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำ เป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหาร ได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษเป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค GMP มี 2 ประเภทดังนี้
- GMP สุขลักษณะทั่วไป หรือ General GMP เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับอาหารทุกประเภท
- GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ Specific GMP เป็นข้อกำหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไปเพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยง และความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น
HACCP คืออะไร
HACCP : Hazard Analysis and Critical Control Point คือ ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เป็นเครื่องมือในการชี้เฉพาะเจาะจง ประเมินและควบคุมอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์อาหาร ระบบนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนานาประเทศถึงประสิทธิภาพ การประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากระบบ HACCP เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมอันตราย ณ จุดหรือขั้นตอนการผลิตที่อันตรายเหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของโรงงานอาหาร จึงสามารถประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่าการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุด ท้ายหรือการควบคุมคุณภาพที่ใช้กันอยู่เดิม ซึ่งมีข้อจำกัดของขนาดตัวอย่างที่สุ่ม
นอกจากนั้นระบบ HACCP ยังมีศักยภาพในการระบุบริเวณ หรือขั้นตอนการผลิตที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ แม้ว่าจุดหรือในขั้นตอนดังกล่าวจะยังไม่เคยเกิดอันตรายมาก่อน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงาน
ประเทศไทยได้นำมาประกาศใช้ในประเทศแล้ว เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศ ระบบ HACCP มี หลักการ 7 ข้อ ที่ต้องปฏิบัติตาม ที่ระบุในมาตรฐานระหว่างประเทศ และประเทศสมาชิกได้ยึดถือเป็นแนวทางประยุกต์ใช้โดยสอดคล้องกันทั่วโลก ดังนี้
1) ดำเนินการ วิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis)
2) หา จุดวิกฤต ที่ต้องควบคุม (Determine the Critical Control Points : CCP s)
3) กำหนด ค่าวิกฤต (Establish critical Limit : s)
4) กำหนดระบบเพื่อ ตรวจติดตาม การควบคุม จุดวิกฤต ที่ต้องควบคุม (Establish a system to monitor control of the CCP)
5) กำหนด วิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่า จุดวิกฤต ที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุม (Establish the corrective action to be taken when monitoring indicates that particular CCP is not under control)
6) กำหนดวิธีการทวนสอบ เพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP (Establish procedures for verification to confirm that the HACCP system is working effectively)
7) กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เหมาะสม ตามหลักการเหล่านี้ และการประยุกต์ใช้ (Establish documentation concerning all procedures and records appropriate to these principles and their application)
ประโยชน์ของ HACCP
สร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต อำนวยความสะดวกในการ ดำเนินการค้าระหว่างประเทศ สอดคล้องกับข้อ กำหนดของประเทศคู่ค้า ใครควรทำระบบ HACCP ผู้ประกอบการ ด้านอาหาร ทุกประเภท และทุกขนาด แม้ว่าระบบ HACCP จะมีบทบาทสำคัญใน การตรวจควบคุม ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่อง การส่งออก และ นำเข้า ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยเฉพาะใน ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป แต่การนำระบบ HACCP มาใช้ของภาคอุตสาหกรรมทุกขนาดธุรกิจ จะช่วยให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ อนามัย ของผู้บริโภค ทั้งภายในประเทศและลูกค้าต่างประเทศ นอกจากทำให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่มี ความปลอดภัย ต่อการบริโภค ยังช่วยลดการสูญเสียในด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ ป่วยจากอาการอาหารเป็นพิษ
EPOXY FLOOR SYSTEM SERVICE
ระบบพื้น EPOXY FLOOR SYSTEM เป็นระบบพื้นที่มี คุณภาพสูงเหมาะสมกับการ ใช้งานที่ต้องการความเรียบ สวย เงางาม ไร้รอยต่อ ทำความสะอาดง่าย ปราศจากฝุ่น ปลอดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อโรคอื่นๆ ให้คุณสมบัติ ในด้านการทนสารเคมี จำพวก กรด ด่าง และสารทำละลาย ชนิดต่างๆได้ดี รวมทั้งให้คุณ สมบัติในเชิงฟิสิกส์ ในด้านการรับแรงอัดกระแทก แรงสั่นสะเทือน แรงดึง แรงเฉือน ทนต่อการขีดข่วนได้สูง ทนต่ออุณหภูมิความร้อน รวมทั้งช่วง เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงๆ มีความเหนียว รวมทั้งไม่เกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่งล้วนแต่เป็นคุณสมบัติ ความต้านทาน ที่เหมาะกับพื้น โรงงานอุตสาหกรรมประเภท ต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรม หนัก-เบา , อาหาร , ยา , โกดังสินค้า , อิเลคทรอนิค, พลาสติก-เส้นใย ฯลฯ
คุณภาพของ ระบบพื้น EPOXY FLOOR SYSTEM ขึ้นอยู่กับ มาตรฐานการทำงานดังนี้
1. การเลือกใช้วัตถุดิบที่ตรงตามการใช้งาน เนื่องจาก EPOXY มีอยู่หลายชนิด ควรเลือก EPOXY สำหรับงานพื้นโดยเฉพาะ เพื่อให้งานเคลือบพื้นมีความแข็งแรงทนทาน ความต้องการ ในการใช้งาน
2. การเลือกรูปแบบการติดตั้ง ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น เคลือบธรรมดา , เคลือบ FIBER GLASS,เคลือบหนารับน้ำหนัก และเคลือบแบบเงางามเป็นพิเศษ
3. การทำงานที่ ถูกต้องตามขั้นตอน การทำงานที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องตามขั้นตอน จะส่งผลต่ออายุ การใช้งานของพื้นที่เคลือบได้
|